การชุมนุมในที่สาธารณะ

กฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะ กับการแก้ปัญหาการเมืองไทย

การชุมนุมในที่สาธารณะ สำหรับสังคมไทย อาจจะดูเปรียบเสมือนหรือประหนึ่งเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมไทยรูปแบบใหม่ไปแล้วกระมัง  ที่เวลามีปัญหาทางการเมืองไทย 

          ที่ส่วนหนึ่งก็มาจากปัญหาตัวบุคคล  การแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตน หรือ ความขัดแย้งทางความคิด อุดมการณ์  หรือนิสัยที่ชอบเอาชนะ หรือไม่ยอมแพ้กันของตัวบุคคล  หรือผลประโยชน์ที่ไม่ลงรอย ก็จะต้องนำม็อบ หรือพี่น้องประชาชนออกมาบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ตนเองต้องการ  ซึ่งในที่นี้คงจะไม่ได้หมายถึงหรือกล่าวไปถึงม็อบ หรือการชุมนุมของพี่น้องประชาชน ที่มีปัญหาความยากจน หรือความลำบากจริงๆ  ซึ่งจะเป็นอีกกรณีของเหตุผลความชอบธรรมในอีกแง่หนึ่ง

              ผลสุดท้ายของการชุมนุมในที่สาธารณะกรณีปัญหาทางการเมือง ของสังคมไทยที่ผ่านมา จึงจบลงที่การกดดันฝ่ายรัฐบาล  ให้ยอมในสิ่งที่ผู้ชุมนุมต้องการ  

              การชุมนุมสาธารณะ  จึงได้กลายเป็นปัญหาทางการเมือง ของสังคมไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา  และอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหาถาวรของสังคมไทยไปแล้วก็ได้ หากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากตัวบุคคลไม่สามารถแก้ไขด้วยกลไกทางการเมือง เช่นระบบรัฐสภา  ได้แล้วละก็   การชุมนุมสาธารณะก็จะเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่สำคัญ  โดยการใช้มวลชนจำนวนมาก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับแกนนำผู้ชุมนุม

เหตุผลหลัก ของการชุมนุมสาธารณะ กรณีปัญหาการเมือง  ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลมาตรฐานต่อไปในอนาคต ก็คือ คำว่า ต้องการประชาธิปไตย หรือเพื่อประชาธิปไตยนั่นเอง จนอดสงสัยไม่ได้เลยว่า อะไรคือความหมายที่แท้จริงของคำว่า ประชาธิปไตย อะไรคือความต้องการที่แท้จริงของการชุมนุม

ปัจจัยสำคัญของการชุมนุมสาธารณะที่ผ่านมา ตามแผนผังที่แสดงมาข้างต้น ก็คือการสร้างแรงกดดันให้กับฝ่ายรัฐ  เช่น การชุมนุมบนท้องถนน, การปิดเส้นทางการจราจร, การทำให้การคมนาคมขนส่งเป็นอัมพาต, การนัดหยุดงาน หรืออะไรก็ตาม ที่จะกดดันให้ฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถทำงานต่อไปได้

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ได้บัญญัติถึงเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม  ดังความว่า

              มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย  แทงบอลออนไลน์