หุ่นยนต์ อุตสาหกรรมอนาคต

หุ่นยนต์ อุตสาหกรรมอนาคต ช่วงนี้เราจะพาไปดูความต้องการตำแหน่งงานของอุตสาหกรรมตำแหน่งหุ่นยนต์ ในพื้นที่ eec รวมถึงการใช้งานหุ่นยนต์ของไทยที่ได้รับการจัดอันดับว่ามากที่สุด อันดับ 1 ในอาเซียน 

ข้อมูลของสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติในปี 2020 พบว่าถ้าประเทศที่มีการใช้หุ่นยนต์เติบโตมากที่สุดก็คือประเทศจีน 140,500 ยูนิต ตามมาด้วยที่ญี่ปุ่น 49,900 ยูนิต สหรัฐอเมริกา 33,300 ยูนิต เกาหลีใต้ 27,900 ยูนิต เยอรมนี 20,500 ยูนิต ส่วนประเทศไทยใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 2,900 ยูนิต หรือคิดเป็นอันดับ 13 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน 

นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่มีการใช้หุ่นยนต์มากที่สุดก็คือยานยนต์รองลงมาได้แก่ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โลหะและเครื่องจักร ยางและพลาสติก อาหารและเครื่องดื่ม 

ซึ่งเมื่อมาพิจารณาถึงต้นทุนการผลิตหุ่นยนต์ทั่วโลกแล้วพบว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องโดยปัจจัยในการสนับสนุนก็มาจากปัจจัยก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต 

สำหรับบทบาทของประเทศไทยนั้นไม่เพียงแต่ใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม โดยการนำเข้าหุ่นยนต์สําเร็จรูปในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์รวมถึงการนำเข้าชิ้นส่วนประเภทสมองกลหรือหน่วยเก็บความจำที่ควบคุมให้หุ่นยนต์ทำงานได้อัตโนมัติเท่านั้น 

แต่ยังคงเป็นผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนประกอบหุ่นยนต์โดยเฉพาะตัวขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่างๆเช่นมอเตอร์ไฮดรอลิคและตัวแขนหรือว่าข้อต่อการเคลื่อนไหวรวมไปถึงแขนก]

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตระบบห่วงโซ่อุปทานของโลกไปสู่การใช้เครื่องจักรประเภทแขนกลและหุ่นยนต์จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการรวมกลุ่มหรือคัตเตอร์มีการเชื่อมโยงหลายอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน

ดังนั้นการที่ eec กำหนดให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนในการพัฒนาให้เกิดคลัสเตอร์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาคการศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนผู้พัฒนาโปรแกรมผู้ผลิตหุ่นยนต์และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ซึ่งการจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EE C I ถือได้ว่าเป็นหนึ่งกลไกเข้ามาช่วยต่อยอดองค์ความรู้ให้เกิดคลัสเตอร์หุ่นยนต์ที่เชื่อมโยงต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 

ทั้งนี้นอกจากเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆแล้วสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ก็คือบุคลากร โดย eec ได้ประมาณการความต้องการในบุคลากรในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ระหว่างปี 2562 ถึงปี 2566 เอาไว้ อยู่ที่ประมาณ 37,526ตำแหน่ง

ในจำนวนนี้เป็นระดับอาชีวศึกษา 21,885 ตำแหน่ง ปริญญาตรี14,277ตำแหน่ง ปริญญาโทและปริญญาเอก 1,364ตำแหน่ง เพื่อเข้ามาช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

ซึ่งต้องยอมรับว่าวิศวกรรมหุ่นยนต์เป็นสาขาวิชาที่มีความโดดเด่นในเวลานี้แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ท้าทายว่าจะผลิตได้ทันและตรงตามความต้องการของตลาดหรือไม่การยกระดับอุตสาหกรรมส่วนเข้าสู่ยุค 4.0 นอกจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นตัวขับเคลื่อนแล้วบุคลากรทักษะสูงก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก

 

สนับสนุนเนื้อหาโดย    ทางเข้า gclub มือถือ